Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wordpress-seo domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/fdgcoth/domains/fdg.co.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114
10. ระบบปรับอากาศ และ ระบบไหลเวียนนอากาศในสถานพยาบาล กับการป้องกันการติดเชื้อ - FDG

10. ระบบปรับอากาศ และ ระบบไหลเวียนนอากาศในสถานพยาบาล กับการป้องกันการติดเชื้อ

เม.ย. 6, 2021 | Blog

การควบคุมคุณภาพอากาศ (Air Quality Control) การควบคุมคุณภาพอากาศเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางอากาศภายในสถานพยาบาลมีแนวทางการคำนวณ ออกแบบและข้อกำหนดต่างๆ หลายประการขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องการควบคุม
แต่สามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง หลักได้ดังนี้

  1. ระบบปรับอากาศ แบบป้องกันการติดเชื้อทางอากาศสู่ผู้ป่วย
  2. ระบบปรับอากาศ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศจากผู้ป่วย
    ทั้งนี้ในรายละเอียดต่างๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะเน้นไปยังการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ จากผู้ป่วย โดยมีแนวทางการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เบื้องต้นดังต่อไปนี้
  3. การเติมอากาศบริสุทธิ์จากภายนอก( Fresh Air ) การเพิ่มอัตราการเติมอากาศด้วยอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกจะช่วยลดความเข้มข้นของสิ่งปนเปื้อน ในอากาศภายในห้อง ทั้งนี้ตำแหน่งรับอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกต้องกำหนดในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วย เพื่อให้ มั่นใจว่าอากาศจากภายนอกที่จะเติมเข้าสู่ภายในห้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ แล้ว แต่เนื่องจากสภาพอากาศของประเทศไทยเป็นแบบร้อน -ชื้น การกำหนดอัตราการเติมอากาศจาก ภายนอกที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างดีเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดผลกระทบทางด้านอุณหภูมิและ ความชื้นสัมพัทธ์ของระบบปรับอากาศภายในพื้นที่
  4. การควบคุมแรงดันระหว่างพื้นที่ ทิศทางการไหลของอากาศจะแปรผันตามแรงดันของอากาศภายในพื้นที่แต่ละแห่ง การกำหนด ความแตกต่างของแรงดันอากาศของแต่ละพื้นที่ที่ต้องการควบคุมคุณภาพอากาศให้เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ คู่มือการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารสถานพยาบาล 13
  5. การควบคุมทิศทางการไหลของอากาศ ในกรณีที่ผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศกำหนดตำแหน่งจ่ายอากาศจากพื้นที่โดยรอบห้อง เพื่อให้อากาศ ไหลผ่านบุคลากรทางการแพทย์ก่อนระบายอากาศออกจากห้องที่ผนังด้านหัวเตียงผู้ป่วย จะช่วยลดความเสี่ยงต่อ การติดเชื้อทางอากาศได้เป็นอย่างดีหากภายในพื้นที่ควบคุมมีผู้ป่วยหลายเตียงต้องคำนึงถึงตำแหน่งและพื้นที่ที่ต้อง ใช้ในการให้บริการทางการแพทย์ให้เหมาะสมด้วย
  6. แผงกรองอากาศ ปัจจุบันมาตรฐานและแนวทางจากหลายหน่วยงานแนะนำให้ใช้แผงกรองอากาศประสิทธิภาพสูง (High – Efficiency Particulate Air Filter; HEPA Filter) หรือแผงกรองอากาศแบบ Ultralow – Penetration Air Filter (ULPA) เพื่อกรองสิ่งปนเปื้อนและเชื้อโรคในอากาศ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการกำจัด สิ่งปนเปื้อนในอากาศได้มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบัน
  7. การใช้หลอดอัลตราไวโอเลต มาตรฐานและแนวทางแนะนำว่าสามารถติดตั้งหลอดอัลตราไวโอเลตเป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจาก การใช้แผงกรองอากาศประสิทธิภาพสูงได้แต่ไม่แนะนำให้ใช้ทดแทนการใช้แผงกรองอากาศ ประสิทธิภาพสูงเนื่องจาก การใช้หลอดอัลตราไวโอเลตมีข้อจำกัดหลายประการที่ต้องระวังในการเลือกใช้ 14 คู่มือการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารสถานพยาบาล
  8. อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์จะช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในอากาศได้ โดยมาตรฐานและแนวทางจากหลายหน่วยงานจะกำหนดช่วงของอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่ต้องควบคุมของพื้นที่ ต่างๆ ภายในสถานพยาบาลไว้แต่เนื่องจากประเทศไทยมีสภาวะอากาศเป็นแบบร้อน -ชื้น การควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ ของอากาศในประเทศไทยจึงต้องมีการคำนวณและออกแบบให้เหมาะสมโดยผู้ชำนาญการทางด้านนี้โดยตรง เนื่องจาก การออกแบบระบบปรับอากาศทั่วไปไม่สามารถควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ได้ ทั้งนี้การควบคุมความชื้นสัมพัทธ์จะทำให้ค่าก่อสร้างระบบปรับอากาศสูงขึ้น และต้องมีค่าใช้จ่าย ในการดูแลบำรุงรักษาต่อเนื่องหลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงควรที่จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นในการควบคุม ความชื้นสัมพัทธ์ของพื้นที่ต่างๆให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลต่างๆในอนาคตต่อไป
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวง สาธารณสุข

Notice: Undefined offset: 0 in /home/fdgcoth/domains/fdg.co.th/public_html/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 962