10. ระบบปรับอากาศ และ ระบบไหลเวียนนอากาศในสถานพยาบาล กับการป้องกันการติดเชื้อ

เม.ย. 6, 2021 | Blog

การควบคุมคุณภาพอากาศ (Air Quality Control) การควบคุมคุณภาพอากาศเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางอากาศภายในสถานพยาบาลมีแนวทางการคำนวณ ออกแบบและข้อกำหนดต่างๆ หลายประการขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องการควบคุม
แต่สามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง หลักได้ดังนี้

  1. ระบบปรับอากาศ แบบป้องกันการติดเชื้อทางอากาศสู่ผู้ป่วย
  2. ระบบปรับอากาศ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศจากผู้ป่วย
    ทั้งนี้ในรายละเอียดต่างๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะเน้นไปยังการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ จากผู้ป่วย โดยมีแนวทางการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เบื้องต้นดังต่อไปนี้
  3. การเติมอากาศบริสุทธิ์จากภายนอก( Fresh Air ) การเพิ่มอัตราการเติมอากาศด้วยอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกจะช่วยลดความเข้มข้นของสิ่งปนเปื้อน ในอากาศภายในห้อง ทั้งนี้ตำแหน่งรับอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกต้องกำหนดในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วย เพื่อให้ มั่นใจว่าอากาศจากภายนอกที่จะเติมเข้าสู่ภายในห้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ แล้ว แต่เนื่องจากสภาพอากาศของประเทศไทยเป็นแบบร้อน -ชื้น การกำหนดอัตราการเติมอากาศจาก ภายนอกที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างดีเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดผลกระทบทางด้านอุณหภูมิและ ความชื้นสัมพัทธ์ของระบบปรับอากาศภายในพื้นที่
  4. การควบคุมแรงดันระหว่างพื้นที่ ทิศทางการไหลของอากาศจะแปรผันตามแรงดันของอากาศภายในพื้นที่แต่ละแห่ง การกำหนด ความแตกต่างของแรงดันอากาศของแต่ละพื้นที่ที่ต้องการควบคุมคุณภาพอากาศให้เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ คู่มือการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารสถานพยาบาล 13
  5. การควบคุมทิศทางการไหลของอากาศ ในกรณีที่ผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศกำหนดตำแหน่งจ่ายอากาศจากพื้นที่โดยรอบห้อง เพื่อให้อากาศ ไหลผ่านบุคลากรทางการแพทย์ก่อนระบายอากาศออกจากห้องที่ผนังด้านหัวเตียงผู้ป่วย จะช่วยลดความเสี่ยงต่อ การติดเชื้อทางอากาศได้เป็นอย่างดีหากภายในพื้นที่ควบคุมมีผู้ป่วยหลายเตียงต้องคำนึงถึงตำแหน่งและพื้นที่ที่ต้อง ใช้ในการให้บริการทางการแพทย์ให้เหมาะสมด้วย
  6. แผงกรองอากาศ ปัจจุบันมาตรฐานและแนวทางจากหลายหน่วยงานแนะนำให้ใช้แผงกรองอากาศประสิทธิภาพสูง (High – Efficiency Particulate Air Filter; HEPA Filter) หรือแผงกรองอากาศแบบ Ultralow – Penetration Air Filter (ULPA) เพื่อกรองสิ่งปนเปื้อนและเชื้อโรคในอากาศ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการกำจัด สิ่งปนเปื้อนในอากาศได้มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบัน
  7. การใช้หลอดอัลตราไวโอเลต มาตรฐานและแนวทางแนะนำว่าสามารถติดตั้งหลอดอัลตราไวโอเลตเป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจาก การใช้แผงกรองอากาศประสิทธิภาพสูงได้แต่ไม่แนะนำให้ใช้ทดแทนการใช้แผงกรองอากาศ ประสิทธิภาพสูงเนื่องจาก การใช้หลอดอัลตราไวโอเลตมีข้อจำกัดหลายประการที่ต้องระวังในการเลือกใช้ 14 คู่มือการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารสถานพยาบาล
  8. อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์จะช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในอากาศได้ โดยมาตรฐานและแนวทางจากหลายหน่วยงานจะกำหนดช่วงของอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่ต้องควบคุมของพื้นที่ ต่างๆ ภายในสถานพยาบาลไว้แต่เนื่องจากประเทศไทยมีสภาวะอากาศเป็นแบบร้อน -ชื้น การควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ ของอากาศในประเทศไทยจึงต้องมีการคำนวณและออกแบบให้เหมาะสมโดยผู้ชำนาญการทางด้านนี้โดยตรง เนื่องจาก การออกแบบระบบปรับอากาศทั่วไปไม่สามารถควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ได้ ทั้งนี้การควบคุมความชื้นสัมพัทธ์จะทำให้ค่าก่อสร้างระบบปรับอากาศสูงขึ้น และต้องมีค่าใช้จ่าย ในการดูแลบำรุงรักษาต่อเนื่องหลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงควรที่จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นในการควบคุม ความชื้นสัมพัทธ์ของพื้นที่ต่างๆให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลต่างๆในอนาคตต่อไป
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวง สาธารณสุข

Notice: Undefined offset: 0 in /home/fdgcoth/domains/fdg.co.th/public_html/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924