เกณฑ์ในการออกแบบคลินิกทันตกรรม
โดยทั่วไปการออกแบบสถาปัตยกรรมขั้นตอนแรกเป็นขั้นวางแผนแนวทางการออกแบบและขั้นตอนการจัดทํา โปรแกรมการออกแบบ (programming phase) ใช้เป็นขั้นตอนให้คําปรึกษาและขอข้อมูลสําหรับการออกแบบ
ของโครงการจากเจ้าของโครงการ เพื่อทําการสรุปความ ต้องการขั้นต้นของเจ้าของโครงการในการขอรับข้อมูล วัตถุประสงค์และความต้องการของเจ้าของโครงการหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องข้อมูลที่จําเป็นต่อการออกแบบขั้นต้น ได้แก่ 1. ขนาดสถานที่ตั้งและรูปร่างของโครงการหรืออาคาร ที่จะทําการก่อสร้างหรือปรับปรุง
2. งบประมาณที่ได้ตั้งไว้ 3. รูปแบบหรือสไตล์ที่ชอบเป็นพิเศษ ทั้งการตกแต่ง ภายในและรูปทรงภายนอก 4. ความตองการด้านพื้นที่ใช้สอย (area requirements) หรือประโยชน์ใช้สอยที่ต้องการจากพื้นที่นั้น 5. ความต้องการด้านผู้ใช้สอย (user requirements) จํานวนผู้ใช้สอยในอาคารนั้น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ประจำ ลาดั บขั้นการปฏิบัติงานที่มีผลต่อขนาดความ ต้องการห้องทํางานต่างๆ 6. ข้อจํากัดต่างๆ ในงานออกแบบ (ถ้ามี) เช่น กรณี ปรับปรุงอาคาร คํานึงถึงสภาพอาคารเดิม 7. รายละเอียด วัสดุหรือโทนสีที่ชื่นชอบเป็นพิเศษและ ต้องการให้มีในงานออกแบบ (ถ้ามี) การออกแบบคลินิกทันตกรรม มีหลักเกณฑ์และ รายละเอียดความต้องการที่สําคัญเบื้องต้น 2 ประเด็นหลัก คือ ความตอ้งการด้านพื้นที่ใช้ สอยกับดั านผู้ใช้อาคารโดย มีรายละเอียดดังนี้
ความต้องการด้านพื้นที่ใช้สอยคลินิกทันตกรรมส่วน ใหญ่แยกเป็น 3 โซนหลักคือ
โซน2 ส่วนตรวจรักษา/ห้องทําฟันเป็นบริเวณ สําหรับติดตั้งยูนิตทําฟันประกอบด้วย เก้าอี้ทําฟัน (dental chair) เก้าอี้ทันตแพทย์ เก้าอี้ผู้ช่วยทันตแพทย์
เคาน์เตอร์ปฏิบัติการติดผนังพร้อมชุดตู้ลอยติดผนัง มีโต๊ะทำงานของทันตแพทย์ หรือเคาน์เตอร์ เพื่อใช้ในการบันทักประวัติคนไข้ เคาน์เตอร์นี้ใช้วางเครื่องมือและเตรียม อุปกรณ์ในการตรวจรักษา ควรมีอ่างล้างมือและล้าง อุปกรณ์ภายในส่วนตรวจรักษานี้ด้วย ลักษณะการทํางานของทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ มีรูปแบบและตําแหน่งตายตัว ส่วนใหญ่ เก้าอี้ของ ทันตแพทย์อยู่ด้านขวามือ ผู้ช่วยทันตแพทย์อยู่ด้านซ้าย มือของคนไข้การจัดผังพื้นในส่วนนี้ควรเข้าใจเส้นทาง สัญจร และพิจารณาตําแหน่งการจัดวางเก้าอี้ของ ทนตแพทย์เป็นหลัก ทิศทางการเดินเข้าถึงยูนิตทำฟันของ คนไข้การออกแบบวางผังพื้นส่วนตรวจรักษา ต้องศึกษาขนาดและระยะของยูนิตทำฟันจากบริษัทผู้ ผลิตโดยตรงที่มีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อยขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตและรุ่นที่ผลิตแต่มีขนาดมาตรฐานตามสัดส่วนของ มนุษย์และได้รับการออกแบบให้รองรับสรีระของคนไข้ โดยทั่วไปได้ดีโดยแต่ละยูนิตมีขนาดความต้องการด้าน พื้นที่เฉพาะตัว และมีระยะน้อยที่สุดสําหรับการปฏิบัติ งานทันตกรรมที่สะดวกดังภาพที่2 แต่ในการออกแบบ สวนตรวจรักษานั้น ควรพิจารณาพื้นที่ใช้ สอยที่ พอเหมาะ และหลีกเลี่ยงการใช้ระยะและขนาดที่น้อยที่สุดในการจัดวางผัง ยูนิตทําฟัน เพราะในการปฏิบัติงานจริงต้องการความ สะดวกสบายและคล้องตัว โดยเฉพาะกรณีที่มีอาจารย์ เข้าไปตรวจผลงานการทําฟันของนิสิตด้วย ทําให้ต้องใช้ พื้นที่มากกว่าขนาดที่กําหนดไว้ว่าน้อยที่สุดดังภาพที่3
โซน (3) ส่วนสนับสนุนและเจ้าหน้าที่นับว่าเป็นส่วน สําคัญของคลินิกทันตกรรม และเป็นส่วนที่มีการจัดวาง ผงพื้นยุ่งยากและละเอียดซับซ้อน การจัดวางตำแหน่งห้อง เหล่านี้มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และการ ทําฟันในแต่ละยูนิต รวมทั้งการจัดเรียงอุปกรณ์ เครื่อง ล้างอบฆ่าเชื้อการจัดเก็บและจัดเตรียมเครื่องมือ มีขั้น ตอนเป็นระบบชัดเจน และต้องถูกสุขอนามัยส่วน สนับสนุนได้แก่ ห้องล้างเครื่องมือ (sterilization room) ห้องเตรียมและเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ทําฟัน (supply room) ตู้อบฆ่าเชื้อเครื่องมือ (autoclave) ห้องเอกซ์เรย์ ห้องพักทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ (staff lounge) ห้องนํ้า ห้องเก็บของ บางคลินิกต้องการห้องปฏิบัติการ (lab) โดยทั่วไปนิยมส่งไปห้องปฏิบัติการภายนอก (Malkin, 2002)
สวนนี้ยังรวมถึงห้องเครื่องต่างๆ (mechanical equipment room) คือ เครื่องปั้มลม เครื่องปั้มนํ้า ระบบสุญญากาศ (vacuum) เครื่องอัดอากาศความดันสูง (compressed air) ขนาดของห้องเครื่อง ขึ้นกับจํานวนยูนิตทําฟัน ถ้ามี จํานวนมาก ขนาดเครื่องต่างๆ ต้องใหญ่ขึ้นและต้องการ พื้นที่จัดเก็บเครื่องขนาดใหญ่ อีกทั้งต้องคํานึงถึงเสียง รบกวนจากเครื่องเหล่านี้ด้วยห้องล้างเครื่องมือ เปนส่วนที่มีความสําคัญมากอีกส่วน หนึ่งในคลีนิกทันตกรรม มีรายละเอียดขั้นตอนการทำงาน และการจัดผังพันห้องล้างเครื่องมือและเตรียมอุปกรณ์โดยทั่วไปดังภาพที่ 4 ห้องล้างเครื่องมือนี้ต้องการเครื่องมือ เรียงตามลําดับดังนี้ ถาดใส่อุปกรณ์และเครื่องมือทําฟัน ที่สกปรก ถังขยะแยกขยะติดเชื้อและขยะเปียกแห้ง อ่าง หรือซิงค์นํ้าแช่เครื่องมือทําฟันเป็นสองหลุม อีกหลุมเพื่อ ล้างเครื่องมือเครื่องล้างอุปกรณ์ เครื่องอบฆ่าเชื้อ หรือ เครื่องล้างแบบ dry heat sterilizer พร้อมที่ดูดควันเหนือ ตู้ ลําดับสุดท้ายคือตู้เก็บอุปกรณ์ที่ฆ่าเชื้อแล้ว (Design Ergonomics, Inc., 2011: online)
อุปกรณ์ล้างเครื่องมือทําฟันเหล่านี้ มีขนาดไม่ใหญ่ สามารถวางไว้บนเคาน์เตอร์ขนาดมาตรฐานความยาว โดยเฉลี่ยประมาณ 2.50-3.00 เมตร ความกว้าง 0.60 เมตรก็เพียงพอ ไม่จําเป็นต้องตั้งเครื่องมือเรียงกันเป็น เส้นตรง เพียงให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง จะจัดวนตามเข็มนาฬิกาหรือทวนเข็มนาฬิกาก็ได้ไม่สําคัญ ให้ปฏิบัติงานได้ เรียงตามลำดับ ที่ควรจะเป็นได้โดยสะดวก เท่านั้น
Cr. https://www.arch.chula.ac.th